เกี่ยวกับกองคดี

ประวัติความเป็นมา ของ กองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับกองคดี นั้น เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ คือ คำสั่งกรมตำรวจ ที่ ๒๓/๘๕๖๒ ลงวันที่ ๒๗ ธ.ค. ๒๕๔๖ ข้อ ๙ “ให้โอนพนักงานและเสมียนกองคดีที่เหลือจากการแบ่งไปประจำในกองบังคับการตำรวจนครบาล กรุงเทพมหานคร มาขึ้นอยู่ใน กองสารบรรณ และให้นายร้อยตำรวจโท ขุนประจักษ์คดี เป็นหัวหน้าการคดี มีหน้าที่ตรวจแนะนำเสนอหนังสือรายงานที่เกี่ยวกับคดี ตลอดทั้งการลงโทษตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยฐานละเมิดวินัยกรมตำรวจ” คำว่า “กองคดี” ในสมัยนั้นมีความหมายถึงส่วนราชการที่ทำหน้าที่ในทางคดี

ต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๗๕ หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ได้มีการจัดวางโครงสร้างกรมตำรวจขึ้นในวันที่ ๑๗ พ.ย. ๒๔๗๕ แบ่งกรมตำรวจออกเป็น ๖ กอง กองคดีนั้นมีฐานะเป็นแผนก ใช้ชื่อว่า แผนกสารบรรณและคดี ขึ้นอยู่กับกองกลาง

ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน และกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๔๗๖ โดยแผนกคดีได้แยกตัวออกมาจากแผนกสารบรรณ โดยขึ้นอยู่กับสำนักงานเลขานุการกรม

ปี พ.ศ.๒๔๘๔ มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๔๘๔ โดยให้แผนกคดี มีฐานะเป็นกอง โดยแบ่งออกเป็น ๓ แผนก ดังนี้

๑) แผนก ๑ (วินัย)
๒) แผนก ๒ (คดีคนไทย)
๓) แผนก ๓ (คดีคนต่างด้าว)

ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ได้มีการขยายงานในกองคดีเป็น ๔ แผนก ดังนี้
๑) แผนกคดีคนไทย
๒) แผนกคดีคนต่างด้าว
๓) แผนกตรวจสำนวน
๔) แผนกพิจารณาทัณฑ์

ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ให้กองคดีประกอบด้วย
๑) ฝ่ายอำนวยการ ประกอบด้วย
๑.๑) งานธุรการและกำลังพล
๑.๒) งานการเงินและพัสดุ
๑.๓) งานนโยบายและแผน
๒) ฝ่ายคดีอาญา ประกอบด้วย
๒.๑) งานคดีอาญา (คดีคนไทย)
๒.๒) นิติกรคดีอาญา
๒.๓) นิติกรที่ปรึกษา
๓) ฝ่ายตรวจสอบสำนวน ประกอบด้วย
๓.๑) งานตรวจสอบสำนวน ๑
๓.๒) งานตรวจสอบสำนวน ๒
๓.๓) งานตรวจสอบสำนวน ๓
๓.๔) งานตรวจสอบสำนวน ๔
๓.๕) งานตรวจสอบสำนวน ๕
๓.๖) งานตรวจสอบสำนวน ๖

๔) ฝ่ายคดีแพ่ง ประกอบด้วย
๔.๑) งานคดีแพ่ง
๔.๒) นิติกรคดีแพ่ง
๕) ฝ่ายอุทธรณ์และฎีกาคดีอาญา

ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๗ กรมตำรวจได้มีคำสั่งที่ ๑๕๓๗ / ๒๕๓๒ ลง ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๒ จัดและกำหนดหน้าที่การงานในสำนักงานกำลังพล โดยกำหนดให้สำนักงานกำลังพล กรมตำรวจ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจและแบ่งหน่วยงานเป็นการภายใน ทั้งนี้โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ด้านวินัย) มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแล

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๓๕ ปรับปรุงแก้ไขการ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจและกำหนดให้ กองวินัยเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานกำลังพล จึงได้แยก กองวินัย ออกจาก กองคดี

ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๘ จัดตั้งสำนักงานกฎหมายและสอบสวน โดยมีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ และมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็น กองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จัดตั้ง กองคดีอาญา ขึ้น โดย “แยกกองคดี” ออกเป็น กองคดีปกครองและคดีแพ่ง และ กองคดีอาญา มีฐานะเทียบเท่ากองบังคับการ สังกัด สำนักงานกฎหมายและสอบสวน จนถึงปัจจุบัน
กองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๒) พิจารณาข้อหารือ ปัญหาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา รวมทั้งเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา
๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
โดยโครงสร้าง กองคดีอาญา แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มงาน และ ๒ งาน ดังนี้
๑) งานอำนวยการ
๒) งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓) กลุ่มงานคดีอาญา
๔) กลุ่มงานตรวจสอบสำนวนอัยการ
๕) กลุ่มงานอุทธรณ์และฎีกาคดี

ปี พ.ศ.๒๕๕๒ มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ มีผลบังคับใช้ ๗ กันยายน ๒๕๕๒ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒
กองคดีอาญา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๒) พิจารณาข้อหารือ ปัญหาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
กับคดีอาญา รวมทั้งเสนอแนะปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา
๓) ศึกษาวิจัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวนและคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ
มอบหมาย

กองคดีอาญา ประกอบด้วย
๑) ฝ่ายอํานวยการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑.๑) งานธุรการและงานสารบรรณ
๑.๒) งานบริหารงานบุคคล
๑.๓) งานคดีและวินัย
๑.๔) งานนโยบายและแผน และงานยุทธศาสตร์
๑.๕) งานการเงินและงานบัญชี
๑.๖) งานงบประมาณ
๑.๗) งานส่งกําลังบํารุง
๑.๘) งานสวัสดิการ
๑.๙) งานช่วยอํานวยการและงานเลขานุการ
๑.๑๐) งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๑.๑๑) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
๑.๑๒) งานศึกษาอบรม
๑.๑๓) งานบันทึก ตรวจสอบ ควบคุม และรายงานข้อมูลสถานภาพกําลังพลของข้าราชการตํารวจในสังกัดรวมทั้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับฐานข้อมูลกําลังพลกลางของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และดําเนินการเพื่อให้ข้อมูลสถานภาพกําลังพลในความรับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
๑.๑๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
๑.๑๕) งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมิได้อยู่ในหน้าที่ของฝ่ายใดโดยเฉพาะ
๑.๑๖) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

๒) – ๕) กลุ่มงานตรวจสอบสำนวน ๑ – ๔ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๒.๑ – ๕.๑) งานธุรการและงานสารบรรณของกลุ่มงานตรวจสอบสํานวน ๑ – ๔
๒.๒ – ๕.๒) ตรวจสอบสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเสนอมายังผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๔๕ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๑๒ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๖ ที่ได้รับมาจากพนักงานอยู่การตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
๒.๓ – ๕.๓) งานตรวจพิจารณาสำนวนการสอบสวนคดีอาญาเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและคดีความผิดที่อยู่ในอํานาจการสั่งคดีของผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ที่พนักงานสอบสวนเสนอผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติมีความเห็นในการสั่งคดี
๒.๔ – ๕.๔) งานพิจารณาข้อหารือปัญหาข้อกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ คําสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา ซึ่งหารือมายังสำนักงานตํารวจแห่งชาติ
๒.๕ – ๕.๕) งานพิจารณาร่างและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา และการลดขั้นตอนการทําสํานวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
๒.๖ – ๕.๖) งานแต่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีสําคัญหรือคดีเกี่ยวพันในหลายท้องที่
๒.๗ – ๕.๗) งานพิจารณากรณีพนักงานสอบสวนจากส่วนกลางเข้าร่วมทําการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนท้องที่
๒.๘ – ๕.๘) งานพิจารณากรณีพนักงานสอบสวนจากส่วนกลางเข้าสอบสวนคดีอาญาฝ่ายเดียว
๒.๙ – ๕.๙) งานรายงานกรณีคดีที่ฝ่ายปกครองเข้าควบคุมการสอบสวนคดีอาญา
๒.๑๐ – ๕.๑๐) งานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีส่วนราชการต่าง ๆ ขออนุมัติทําการสอบสวนคดีอาญา
๒.๑๑ – ๕.๑๑) งานการรายงานตนกรณีข้าราชการตํารวจต้องหาคดีอาญา หรือการรายงานเหตุการณ์เกี่ยวกับคดีอาญา กรณีข้าราชการกระทรวง ทบวง กรมอื่น หรือพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจต้องหาคดีอาญา
๒.๑๒ – ๕.๑๒) งานประสานงานขอพนักงานอัยการเป็นทนายแก้ต่างคดีอาญา
๒.๑๓ – ๕.๑๓) งานการดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีข้าราชการทหารและตํารวจพิพาทกัน
๒.๑๔ – ๕.๑๔) งานดําเนินการเกี่ยวกับหมายอาญาของศาล
๒.๑๕ – ๕.๑๕) งานการรายงานกรณีข้าราชการทหารถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดอาญา ซึ่งไม่ใช้ความผิดลหุโทษ
๒.๑๖ – ๕.๑๖) งานตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาเสนอกรณีหน่วยงานที่มีหน้าที่สอบสวนขออนุมัติทําการสอบสวนคดีอาญา
๒.๑๗ – ๕.๑๗) งานการประสานงานการคุ้มครองพยานในคดีอาญา
๒.๑๘ – ๕.๑๘) งานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
๒.๑๙ – ๕.๑๙) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

๖) กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญคดีอาญา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๖.๑) งานธุรการและงานสารบรรณของกลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญคดีอาญา
๖.๒) ตรวจสอบสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเสนอมายังผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๑๒ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ ที่ได้รับมาจากพนักงานอัยการตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
๖.๓) ตรวจสอบสํานวนการสอบสวนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเสนอมายังผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๔๕ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๑๒ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ ที่ได้รับมาจากพนักงานอัยการและเป็นคดีที่มีลักษณะการกระทําผิดที่มีความซับซ้อนต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ หรือมีการกระทําผิดที่มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม หรือคดีที่มีมูลเหตุน่าเชื่อว่าเป็นเหตุให้รัฐขาดรายได้เป็นมูลค่าจํานวนมาก หรือเป็นคดีอาญาที่สําคัญตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
๖.๔) วิเคราะห์ วิจัยปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตํารวจ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาญาและการอํานวยความยุติธรรมในภารกิจของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตํารวจที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมสืบสวนสอบสวนคดีอาญา และรวบรวมความเห็นแย้ง และข้อบกพร่องของพนักงานสอบสวน
๖.๕) วิเคราะห์ วิจัยปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินคดีอาญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และกฎหมายอื่น เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิชาการ
๖.๖) จัดเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บังคับบัญชาเพื่อเข้าร่วมประชุมระหว่างหน่วยงาน หรือดำเนินการตามคําสั่งที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
๖.๗) งานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

You missed